วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561

แนวคิดเชิงคำนวณ


แนวคิดเชิงคำนวณ ( Computational Thinking ) ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรแกรมโดยผู้เชี่ยวชาญแต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะคือ สามารถอธิบายกาคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการแก้
ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์และคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้

                             

แนวคิดเชิงคำนวณ

1 แนวคิดการแยกย่อย ( Decomposition )

แตกปัญหากระบวนการออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้จัดการปัญหาได้ง่ายขึ้น

2 แนวคิดการจดจำรูปแบบ ( Pattern Recognition )

แนวคิดการจดจำรูปแบบ เพื่อดูความเหมือน ความแตกต่างของรูปแบบการเปลี่ยนแปลง ทำให้ทราบแนวโน้มเพื่อทำนายไปข้างหน้าได้

3 แนวคิดเชิงนางธรรม ( Abstraction )

แนวคิดเชิงนามธรรม เป็นทักษะสำคัญที่มุ่งเน้นความสำคัญของปัญหา โดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และต่อยอดให้เกิดแบบจำลองหรือสูตร

4 แนวคิดการออกแบบขั้นตอน ( Algorithm Design )

แนวคิดการออกแบบขั้นตอนในการแก้ปัญหา ทำให้ทราบว่าจะต้องทำอะไรก่อนอะไรหลัง



การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้แนวคิดเชิงคำนวณเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบเพื่อให้โครงงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย การพัฒนาโครงงานใดๆทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีขั้นตอนเบื้องต้น  ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดปัญหา วิเคราะ์ระบบ ออกแบบระบบ พัฒนาระบบ และทดสอบระบบ ติดตั้งระบบ เป็นต้น







การเขียนรายงานการพัฒนาโครงงาน

หลังจากวางแผนและทำการพัฒนาโครงงานทางด้าน เทคโนโลยีสานสนเทศแล้ว ทางผู้จัดทำจะต้องนำขั้นตอนกระบวนการ ตลอดจนผลงานที่ได้ มานำเสนอในรูปแบบของรายงาน ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงงานทั้งหมด เพื่อให้ผู้สนใจที่มีความรู้พื้นฐานสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาโครงงานจากการ ิอ่านรายงานได้ โดยองค์ประกอบของรายงานโครงงาน


1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจจะทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์มักได้จากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้
1.1 ต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา
1.2 สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
1.3 มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
1.4 มีเวลาเพียงพอ
1.5 มีงบประมาณเพียงพอ
1.6 มีความปลอดภัย
        2. ศึกษาค้นคว้าและวางแผน การศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้ความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่จะศึกษา จนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้
        3. จัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ ดังนี้
3.1  ศึกษาค้นคว้าเอกสารอ้างอิงและรวบรวมข้อมูลที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิ
3.2  วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดขอบเขตและลักษณะของโครงการที่จะพัฒนา
3.3  ออกแบบการพัฒนา มีการกำหนดลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์และตัวแปลภาษา โปรแกรม และวัสดุต่าง ๆ ที่ต้องใช้
3.4  กำหนดตารางการปฏิบัติงานของการจัดทำเค้าโครงของโครงงาน ลงมือทำโครงงานและสรุปรายงานโครงงาน โดยกำหนดช่วงเวลาอย่างกว้าง ๆ
3.5  ทำการพัฒนาโครงงานขั้นต้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น โดยอาจจะทำการพัฒนาส่วนย่อย ๆ บางส่วนตามที่ได้ออกแบบไว้แล้ว นำผลจากการศึกษาในช่วงนี้ไปปรับปรุงแผนการทดลองที่ออกแบบไว้ในครั้งแรกให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
3.6  เสนอเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์ต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและดำเนินการทำโครงงานเป็นไปอย่างเหมาะสมเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด
แบบฟอร์มเขียนข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์

ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)………………………………………………………………………………………………………………………………
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)..………………………………………………………………………………………………………………………….
ประเภทของโครงงาน .....................................................................................................................................................................................
ชื่อผู้ทำโครงงาน
     1………………………………………….................................................………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
     2……………………………………................................................……………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน .........................................................................................................................................................................................
ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม....................................................................................................................................................................................
ระยะเวลาดำเนินงาน ..........................................................................................................................................................................................

 รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

 1. ที่มา และความสำคัญของโครงงาน (อธิบายถึงแนวคิดและเหตุผลของการทำโครงงาน)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………….....................
 2. วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทำโครงงาน ระบุเป็นข้อ ๆ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................
 3. ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจำกัดของโครงงาน)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................
 4. หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทำโครงงาน)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………....................
 5. วิธีการดำเนินงาน (กำหนดแนวทางการดำเนินงาน เครื่องมือและอุปกรณ์ งบประมาณ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน)
     แนวทางการดำเนินงาน ..............................................................................................................................................................................
     เครื่องมือและอุปกรณ์...................................................................................................................................................................................
     งบประมาณ…………………………………………………………………………………………………………………………………
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ภาคเรียนที่ ................ปีการศึกษา ..................


ที่
กิจกรรม / รายการที่ปฏิบัติ
ระยะเวลาดำเนินการ (เดือน)
ผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ

























 6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทำโครงงาน)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..............
 7. แหล่งอ้างอิง (เอกสารหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………..............

        4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว  ก็เสมือนว่าการจัดทำโครงงานได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าครึ่ง ขั้นตอนต่อไปเป็นการลงมือพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ เช่น จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่มให้ชัดเจน แล้วจึงดำเนินการทำโครงงาน ขณะเดียวกันต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาโครงงานเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงกับความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และเกิดประสิทธิภาพตามขั้นตอนต่อไปนี้
    4.1 การเตรียมการ ต้องเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และวัสดุอื่น ๆ ที่จะใช้ในการพัฒนาให้พร้อมและควรเตรียมสมุดบันทึกหรือบันทึกเป็นแฟ้มข้อความไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ สำหรับบันทึกการทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างการทำโครงงาน ได้แก่ การดำเนินการอย่างไร ได้ผลอย่างไร มีปัญหาและแก้ไขได้หรือไม่อย่างไร รวมทั้งข้อสังเกตต่าง ๆ ที่พบ
    4.2 การลงมือพัฒนา เป็นการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ในเค้าโครง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมได้ หากพบว่าจะช่วยให้ผลงานพัฒนาได้ดีขึ้น โดยจัดระบบการทำงาน  ทำส่วนที่เป็นหลักสำคัญให้เสร็จก่อน จึงค่อยทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริม เพื่อให้โครงงานมีความสมบูรณ์มากขึ้น และถ้ามีการแบ่งงานกันทำ ให้มีการตกลงรายละเอียดในการเชื่อมต่อชิ้นงานที่ชัดเจนด้วย รวมทั้งต้องพัฒนาระบบงานด้วยความละเอียดรอบคอบ บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบและครบถ้วน
    4.3 การทดสอบผลงานและแก้ไข เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของผลงาน เพื่อให้แน่ใจว่าผลงานที่พัฒนาขึ้น ทำงานได้ถูกต้องตรงตามความต้องการที่ระบุไว้ในเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ
    4.4 การอภิปรายและข้อเสนอแนะ เมื่อพัฒนาผลงานเรียบร้อยแล้ว ให้จัดทำข้อสรุปด้วยข้อความที่สั้นกะทัดรัด ครอบคลุมหัวข้อโครงงาน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงสิ่งที่ค้นพบจากการทำโครงงานและอภิปรายผล เพื่อพิจารณาข้อมูลและผลที่ได้ พร้อมกับนำไปหาความสัมพันธ์กับ หลักการ ทฤษฎี หรือผลงานที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้แล้ว ทั้งนี้รวมไปถึงหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการอภิปรายผลได้
    4.5 แนวทางการพัฒนาโครงงานในอนาคตและข้อเสนอแนะ เมื่อทำโครงงานเสร็จสิ้นลงแล้ว นักเรียนอาจพบข้อสังเกต ประเด็นที่สำคัญหรือปัญหาซึ่งสามารถเขียนเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
        5. เขียนรายงานและจัดทำคู่มือการใช้ การเขียนรายงานเป็นวิธีการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจแนวคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน ในการเขียนรายงานนักเรียนควรใช้ภาษาที่อ่านง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมา และส่วนสุดท้ายเป็นคู่มือการใช้งานโครงงาน ซึ่งประกอบด้วย
หัวข้อในการเขียนรายงาน โครงงานคอมพิวเตอร์

ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)………………………………………………………………………………………………………………………………..
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)..………………………………………………………………………………………………………………………….
ประเภทของโครงงาน................................................................................................................................................................................
ชื่อผู้ทำโครงงาน
     1………………………………...................................…………………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
     2……………………………...................................……………………………เลขที่ ………………… ชั้น ………………………..
ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน ...............................................................................................................................................................................
ชื่อที่ปรึกษาโครงงานร่วม........................................................................................................................................................................
กิตติกรรมประกาศ. ...................................................................................................................................................................................
บทคัดย่อ.....................................................................................................................................................................................................
บทที่ 1 บทนำ
     ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ..............................................................................................................................................................
     วัตถุประสงค์...............................................................................................................................................................................................
     ขอบเขตของโครงงาน................................................................................................................................................................................
บทที่ หลักการและทฤษฎี .............................................................................................................................................................................
บทที่ วิธีดำเนินการ .....................................................................................................................................................................................
บทที่ ผลการศึกษา.......................................................................................................................................................................................
บทที่ สรุปผลและข้อเสนอแนะ ......................................................................................................................................................................
บรรณานุกรม ...............................................................................................................................................................................................
คู่มือการใช้งาน ...........................................................................................................................................................................................

     ส่วนแรกของรายงานจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงงาน โดยส่วนใหญ่ได้เขียนไว้ในข้อเสนอโครงงานบ้างแล้ว ยกเว้น กิตติกรรมประกาศ ซึ่งเป็นคำกล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้การทำโครงงานสำเร็จ อีกส่วนหนึ่งคือ บทคัดย่อ ซึ่งเป็นการอธิบายโดยสรุปให้เห็นถึงผลการศึกษาที่ได้จากการทำโครงงาน โดยเขียนเป็นความเรียง
       บทที่ 1 บทนำ เป็นส่วนรายละเอียดของเนื้อหาของโครงงานโดยได้เขียนไว้แล้วในข้อเสนอโครงงานซึ่งประกอบด้วย ที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ ขอบเขตของโครงงาน
       บทที่ 2 หลักการและทฤษฎี เป็นส่วนสรุปข้อมูลที่ได้จากการศึกษาหาข้อมูล หลักการ ทฤษฎี หรือวิธีการที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโครงงาน ซึ่งรวมถึงการระบุผลงานของผู้อื่น ที่ผู้จัดทำโครงงานนำมาเปรียบเทียบหรือพัฒนาเพิ่มเติมด้วย
       บทที่ 3 วิธีดำเนินการ อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด ระบุปัญหาหรืออุปสรรคที่พบ วิธีการที่ใช้แก้ไข พร้อมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำโครงงาน
       บทที่ ผลการศึกษา นำเสนอข้อมูลหรือระบบที่พัฒนาได้ โดยอาจแสดงเป็นรูปภาพ ตาราง กราฟ ข้อความ ทั้งนี้ต้องการสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
       บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ การสรุปผลการดำเนินงาน เป็นการอธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมุติฐานควรระบุถึงข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือยังสรุปไม่ได้ การนำผลการทดลองหรือพัฒนาไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ และควรมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงงานเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้อื่นศึกษาค้นคว้าต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ควรกล่าวถึงประโยชน์ที่ผู้จัดทำและผู้ใช้จะได้ประโยชน์จากการทำโครงงานด้วย
       บรรณานุกรม รวบรวมรายชื่อหนังสือ วารสารเอกสารและ /หรือเว็บไซต์ ที่ผู้จัดทำโครงงานใช้ศึกษา ค้นคว้ารายละเอียด ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงาน ทั้งนี้เขียนเอกสารบรรณานุกรมต้องให้ถูกต้องตามหลักการเขียนด้วย
       คู่มือการใช้งาน เป็นคู่มืออธิบายวิธีการใช้งานผลงานนั้นโดยละเอียด ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผลงาน คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์เพื่อที่จะใช้กับผลงานนั้นได้ (ถ้ามี) รายละเอียดของคอมพิวเตอร์  ต้องมีรายชื่อซอฟต์แวร์   ผลงานนั้นทำหน้าที่อะไรบ้าง รับอะไรเป็นข้อมูลเข้า และส่งอะไรออกมาเป็นข้อมูลออก วิธีการใช้งาน ควรอธิบายขั้นตอนตามลำดับการทำงาน ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ข้อแนะนำการใช้งาน สามารถแยกออกจากรายงานหรือใส่ไว้ในภาคผนวกของรายงานก็ได้ แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้จัดทำ
         6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน โดยทั่วไปเมื่อโครงงานเสร็จสิ้นแล้ว ต้องมีการนำเสนอโครงงานให้กับผู้ที่ต้องการใช้งานหรือครูที่ปรึกษาโครงงาน ดังนั้นควรเตรียมเอกสารนำเสนอให้สมบูรณ์ โดยอาจปรับย่อข้อความที่สำคัญมาจากการรายงานก็ได้ การนำเสนอในรูปแบบใดนั้นต้องเลือกให้เหมาะสมโดยพิจารณาวัตถุประสงค์ของงานนำเสนอ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ป้ายนิทรรศการ เอกสารรายงาน แผ่นพับ นอกจากนี้ยังต้องวางแผนในการนำเสนอและสาธิตโครงงาน และควรฝึกตอบคำถามที่เกี่ยวข้องไว้ด้วย
6.1 ชื่อโครงงาน
6.2 ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
6.3 ชื่อที่ปรึกษา
6.4 คำอธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน
6.5 วิธีการดำเนินการที่สำคัญ
6.6 การสาธิตผลงาน
6.7 ผลการสังเกตและข้อสรุปสำคัญที่ได้จากการทำโครงงาน
     ถ้าเป็นการรายงานด้วยคำพูดต่อที่ประชุม ควรมีการเตรียมการในประเด็นต่อไปนี้
1)  จัดลำดับความคิดในการนำเสนออย่างมีระบบ และนำเสนออย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
2)  ทำความเข้าใจกับเรื่องที่จะอธิบาย รวมไปถึงการเตรียมข้อมูลที่อาจจะต้องใช้ในการตอบคำถาม
3)  หลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน
4)  ควรมองไปยังผู้ฟังรายงาน
5)  ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมา
6)  รายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
7)  ควรใช้สื่อ เช่น สไลด์ แผ่นใส ประกอบการรายงาน
8)  ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อผู้ฟัง
9)  ถ้าเป็นโครงงานพัฒนาผลงาน ผลงานนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้เป็นอย่างดี

        การทำโครงงานคอมพิวเตอร์ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำความรู้ทางคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา พัฒนาคิดค้นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจที่จะทำงานวิจัย และประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นจึงน่าที่จะจัดให้การทำโครงงานคอมพิวเตอร์เป็นกิจกรรมในทุกระดับชั้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต